เมนู

อรรถกถาอัคคิสูตรที่ 4


ทุติยอัคคิสูตรที่ 4

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
บทว่า อคฺคตสรีรสฺส ความว่า ได้ยินว่าพราหมณ์มหาศาลนั้น
เป็นผู้สูงโดยอัตตภาพ ถึงสารสมบัติโดยโภคะ เพราะเหตุนั้น จึงปรากฏ
ชื่อว่าพราหมณ์ผู้มีตัวสูง. บทว่า อุปกฺขโฏ ได้แก่ ตระเตรียม
บทว่า ถูณูปนีตานิ ได้แก่ นำเข้าไปสู่เสา กล่าวคือ หลักการกระทำ
บูชายัญ บทว่า ยญฺยตฺถาย ได้แก่เพื่อประโยชน์แก่การฆ่าบูชายัญ
บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นจัดเตรียมเครื่อง
ประกอบยัญทั้งหมดนั้นแล้ว คิดว่า ได้ยินว่า พระสมณะโคดม
เป็นผู้มีปัญญามาก พระองค์จักตรัสสรรเสริญยัญของเราหรือหนอ
หรือว่าตรัสติเตียน เราจักทูลถามจึงจะรู้ด้วยเหตุนี้ จึงเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า บทว่า อคฺคิสฺส อาธานํ ความว่า การก่อไฟ
อันเป็นมงคล 9 ประการ เพื่อบูชายัญ. ด้วยบทว่า สพฺเพน สพฺพํ
นี้ อุคคตสรีรพราหมณ์ แสดงว่า สูตรทั้งหมดที่เราฟังมาแล้ว ย่อม
เทียบเคียงกันได้ ย่อมเป็นอย่างเดียวกันกับสูตรทั้งหมด.
บทว่า สตฺถานิ ความว่า ที่ชื่อว่าศาสตร์ เพราะเป็นเหมือน
สัตรา โดยอรรถว่า เป็นเครื่องเบียดเบียน.
บทว่า สยํ ปฐมํ สมารภติ ความว่า เริ่มด้วยตนเองก่อนทีเดียว.
บทว่า หญฺญนฺตุ แปลว่า จงฆ่า. บทว่า ปริหาตพฺพา แปลว่า
พึงปริหาร. บทว่า อิโต หยํ ตัดเป็น อิโต หิ มาตาปิติโต อยํ

แปลว่า ผู้นี้เป็นฝ่ายมารดาและบิดา. บทว่า อาหุโต แปลว่า มาแล้ว.
บทว่า สมฺภูโต แปลว่า เกิดขึ้นแล้ว. บทว่า อยํ วุจฺจติ พฺราหฺมณ
คหปตคฺคิ
ความว่า หมู่บุตรและภรรยาเป็นต้นท่านเรียกว่า
คหปตัคคิ เพราะเป็นเหมือนคหบดี เป็นเหมือนเจ้าเรือนเที่ยวไป.
บทว่า อตฺตานํ ได้แก่จิต. บทว่า ทเมนฺติ ได้เก่ ย่อมฝึกด้วยการ
ฝึกอินทรีย์. บทว่า สเมนฺติ ได้แก่ สงบด้วยการสงบราคะเป็นต้น.
อธิบายย่อมดับกิเลส ด้วยการให้กิเลส มีราคะเป็นต้นดับสนิทไป.
บทว่า นิกฺขิปิตพฺโพ ความว่า พึงวางไว้โดยประการที่จะไม่เสียหาย
บทว่า อุปวายตํ ความว่า จงฟุ้งขจรไป. ก็แลพราหมณ์ครั้นกล่าว
อย่างนั้นแล้ว จึงมอบชีวิตแก่สัตว์ทั้งหมดนั้นแล้ว ทำลายโรงยัญ
ประหนึ่งบ่อน้ำ ในศาสนาของพระศาสดา และ.
จบ อรรถกถาทุติยอัคคิสูตรที่ 4

5. ปฐมสัญญาสูตร


[45] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญา 7 ประการนี้ อันภิกษุ
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่ง
ลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด 7 ประการเป็นไฉน คือ อสุภสัญญา 1
มรณสัญยา 1 อาหาเร ปฏิกูลสัญญา 1 สัพพโลเก อหิรตสัญญา 1
อนิจจสัญญา 1 อนิจเจ ทุกขสัญญา 1 ทุกเข อนัตตสัญญา 1 ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย สัญญา 7 ประการนี้แล อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำ
ให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะ
เป็นที่สุข
จบ ปฐมสัญญาสูตรที่ 5

อรรถกถาสัญญาสูตรที่ 5


สูตรที่ 5

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อมโตคธา ความว่า ตั้งอยู่ในพระนิพพาน บทว่า
อมตปริโยสานา ได้แก่ มีพระนิพพานเป็นที่สุด.
จบ อรรถกถาปฐมสัญญสูตรที่ 5